วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มรดกความทรงจำของผู้ร่วมก่อต้้ังรามาธิบดี

.


มรดกความทรงจำ(Heritage Memories) เป็นข้อมูลที่มีคุณค่าซึ่งถ่ายทอดออกมาจากการระลึกถึงเรื่องราวต่างๆในอดีต เป็นวิธีหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งประวัติที่มีคุณค่าในอดีตยิ่งมีวัสดุประกอบควาทรงจำได้ยิ่งเพิ่มคุณค่ามากขึ้นและนำความทรงจำที่ได้รับการถ่ายทอดนั้นไปเก็บบันทึกเป็นองค์ความรู้ต่อไป ผู้เขียนได้มีโอกาสขอให้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง ม.ร.ว.จันทร์นิวัทธ์ เกษมสันต์ ผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 ได้ถ่ายทอดมรดกความทรงจำของท่านในยุคนั้นดังนี้



ท่านถ่ายทอดความทรงจำพร้อมกับหัวเราะว่า “ ในช่วงจัดตั้งงบประมาณสำหรับซื้อครุภัณฑ์นั้น ท่านและรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงจิรพรรณ มัธยมจันทร์ ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งคณะฯ ที่สำคัญได้เดินทางไปติดต่อที่สำนักงบประมาณฯ เพื่อจัดซื้อเก้าอี้สำหรับใช้ในคณะฯ โดยกำหนดว่าเป็นเก้าอี้ราคาตัวละ 80 บาท ซึ่งสำนักงบประมาณฯได้แจ้งว่าขอให้ใช้เก้าอี้ราคาตัวละ 50 บาทเท่านั้น และในขณะที่กำลังนั่งติดต่ออยู่นั้นเก้าอี้ที่อาจารย์แพทย์หญิงจิรพรรณนั่งก็หักลงมา ดังนั้นแพทย์หญิงอาจารย์จิรพรรณจึงได้ถามเจ้าหน้าที่สำนักงบประมาณฯว่า เป็นเก้าอี้แบบนี้ใช่ไหมที่ราคา 50 บาทและกำหนดให้คณะแพทยศาสคร์โรงพยาบาลรามาธิบดีจัดซื้อ..............” หลังจากนั้น คณะฯก็ได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณให้จัดอี้เก้าอี้ในราคา 50 บาท แต่ไม่ได้หมายถุงเก้าอี้แบบที่หัก.......... นับเป็นเก้าอี้ชุดแรกที่จัดซื้อมาใช้ในคณะฯเป็นครุภัณฑ์ 2512

หลังจากนั้นเราสืบหาเก้าอี้ตัวนี้ที่จัดซื้อมาในรุ่นแรก ขณะที่เดินผ่านหน้าภาควิชาโสตศอนาสิกวิทยา ชั้น 2 อาคาร 1 พบว่ามีเก้าอี้เก่าที่สะดุดตาประมาณ 2 ตัว มีสภาพดี 1 ตัว อีก 1 ตัวที่ขามีการดามด้วยเหล็ก และยังวางให้บริการอยู่ที่หน้าภาควิชาฯ เก้าอี้ดังกล่าวมีเลขรหัส 2512 แต่ถ้าพิจารณาจากรหัสพัสดุ ของเก้าอี้นี้พบว่าเป็นครุถัณฑ์ของภาควิชาจักษุโสตศอนาสิกวิทยา ดังปรากฏในรูป คือ “จษส2512 ซึ่งบ่งบอกประวัติให้ทราบว่า ในยุคก่อตั้งคณะฯ ในปี 2512 ซึ่งเป็นปีแรกที่คณะแพทยศาสคร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเปิดให้บริการ อนึ่งในแผนผังโครงสร้างองค์กรของคณะแพทยศาสคร์โรงพยาบาลรามาธิบดีในยุคแรก จะประกอบด้วยภาควิชาต่างๆ จำนวน 8 ภาค รวมถึงภาควิชาจักษุวิทยาวิทยาโสตศอนาสิกลาริงซ์ และต่อมา ในปี พ.ศ. 2522แยกเป็น ภาควิชาจักษุวิทยา และ ภาควิชาโสตศอนาสิกลาริงซ์วิทยา

มรดกความทรงจำของผู้ร่วมก่อตั้งคณะฯ เป็นข้อมูลที่น่าสนใจและสามารถถ่ายทอดประวัติอันมีคุณค่ามากมาย ซึ่งคณะทำงานหอจดหมายเหตุคณะฯให้ความสำคัญมากและจะดำเนินต่อไปเพื่อสืบหาสิ่งที่มีคุณค่าในอดีคของคณะฯต่อไป
.