วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

กว่าจะเป็นหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี.....ที่เรารอคอย

ตามที่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้จัดงาน "รักษ์รามาธิบดี" ครั้งที่ 1 เมื่อวันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2553 เวลา 8.30 - 16.00 น. และจัดเพิ่มในวันจันทร์ที่ 12 เมษายน 2553 เวลา 9.00 - 14.00 น. นั้น มีผู้สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก เป็นทั้งบุคลากรในอดีต ปัจจุบันและนักศึกษา จากการประเมินผลผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 328 คน พบว่า ส่วนใหญ่ทราบว่าคณะฯ กำลังจัดสร้างหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งเกิดความมีส่วนร่วมในการสร้างประวัติศาสตร์ของคณะฯ และมีความภาคภูมิใจในความเป็นคณะฯ ในระดับมากที่สุด

ขณะนี้ทางโครงการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี กำลังดำเนินการจัดสร้าง หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี ที่บริเวณ ชั้น ๒ อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์ ประกอบด้วยโซนต่างๆ ดังนี้

• โซนที่ 1 พระบารมีคุ้มเกล้ารามาธิบดี
• โซนที่ 2 กว่าจะเป็นรามาธิบดี
• โซนที่ 3 เรื่องเล่ารามาธิบดี
• โซนที่ 4 บุคลากรรามาธิบดี
• โซนที่ 5 วิจัยและตำรารามาธิบดี
• โซนที่ 6 เริ่มต้นที่รามาธิบดี
• โซนที่ 7 เจาะลึกรามาธิบดี
• หอเกียรติยศรามาธิบดี:(ชั้น 9 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์)










คาดว่าการจัดสร้างหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดีจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายนนี้ ในโอกาสนี้ขอเชิญชวนให้ชาวรามาธิบดีทุกท่านทั้งที่ยังทำงานในปัจจุบันและท่านทำงานที่อื่น ช่วยกันบริจาคเอกสารจดหมายเหตุและวัสดุต่างๆเพื่อจัดเก็บรักษาไว้และเผยแพร่ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้เรื่องราวในอดีตและเกิดความภาคภูมิใจ ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณเกรียงศักดิ์ บุญถวิล โทรศัพท์ 02-2011280


วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

หน่วยจัดการความรู้ความรุนแรงในครอบครัว: แห่งแรกในประเทศไทย



หน่วยจัดการความรู้ความรุนแรงในครอบครัว จัดดั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นับเป็นผลงานที่น่าภาคภูมิใจของชาวรามาธิบดีในการที่มีส่วนช่วยสังคม หน่วยนี้จัดตั้งโดย รองคณบดีฝ่ายการพัสดุ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ศ.รณชัย คงสกนธ์ มีจุดประสงค์เพื่อให้สตรีและเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัว มีความรู้และแนวทางช่วยเหลือตนเองได้จากการถูกกระทำรุนแรงก่อนที่จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น และยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในระยะยาว พร้อมเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวระดับจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อลดปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวและในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม


วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

รามาฯจัดงาน "รักษ์รามาธิบดี" ครั้งที่ 1












งาน "รักษ์รามาธิบดี"นี้จัดเป็นครั้งที่ 1 ในวันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2553 ณ ตึกสิริกิติ์ ชั้น 5 เวลา 8.00 น.- 16.00 น. และเพิ่ม วันจันทร์ที่ 12 เมษายน 2553 เวลา 9.00 น- 14.00 น. การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ประชาสัมพันธ์โครงการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดีและเพื่อจัดหาเอกสารจดหมายเหตุและวัสดุพิพิธภัณฑ์เพื่อเก็บรักษาและเผยแพร่โครงการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี

กิจกรรมในงาน มี หลากหลาย คือ

1.ภาพเก่าเล่าเรื่อง/ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไรในอดีต: จัดแสดงภาพเก่าที่ยังไม่มีรายละเอียด เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้ช่วยให้ข้อมูลว่า เป็นใคร มีกิจกรรมอะไร ที่ไหน อย่างไร

2.เก่ากว่านี้มีอีกไหม: จัดแสดงภาพเก่าของสถานที่ สิ่งของและเหตุการณ์ต่างๆ และให้ผู้มาร่วมงานพิจารณาว่าตนเองมีภาพเก่ากว่านี้หรือไม่ ถ้ามีขอเชิญชวนมามอบให้คณะฯ

3.ใหม่บวกเก่า(ชาวรามาธิบดี): เชิญปูชนียบุคคลในยุคก่อตั้งคณะฯให้เกียรติถ่ายภาพนิ่งที่ซุ้ม เพื่อสานความสัมพันธ์และย้อนวันเวลาแห่งความสุข ความภาคภูมิใจ

4.วัสดุเก่าเล่าอดีต : จัดแสดงวัสดุพิพิธภัณฑ์ของคณะฯ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และหาชมได้ยาก เราได้รวบรวมไว้ที่นี่ ! เพียงแห่งเดียวเท่านั้น

5.อดีต สู่ ปัจจุบัน สัมผัสที่แตกต่าง: จัดแสดงรูปภาพเปรียบเทียบระหว่างเมื่อ ๔๐ ปีที่แล้วกับภาพปัจจุบัน

6.รับบริจาคเอกสารจดหมายเหตุและวัสดุพิพิธภัณฑ์: มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของรามาธิบดี (มีอายุมากกว่า ๒๕ ปี) พร้อมรับของที่ระลึก

7.ที่ระลึกแทนใจรักษ์รามาธิบดี:มอบของที่ระลึกแก่ อาจารย์ บุคลากรอาวุโสและผู้ร่วมงานข้อมูลที่รวบรวมได้จะนำไปจัดเก็บที่ หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี ชั้น 2 และชั้น 9 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีกำลังก่อตั้งหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์



คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นคณะแพทย์แห่งที่ 2
ของ
มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นคณะแพทย์แห่งที่ 4 ของประเทศไทย เริ่มก่อตั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2508 และเปิดบริการในปี พ.ศ. 2512 สมควรที่จะมีการก่อตั้งหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ได้แล้ว

ที่จริงแล้ว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นที่ภาคภูมิใจตลอดของการก่อตั้งคณะฯ โดยการทำพิพิธภัณฑ์เล็กๆไว้ในห้องสมุดคณะฯ ด้วยเหมือนกัน ผู้มาใช้ข้อมูลเป็นบุคคลที่ทราบว่ามีเอกสารจดหมายเหตุและมีวัสดุพิพิธภัณฑ์นั้นๆอยู่เท่านั้น ยังไม่เป็นแหล่งที่จัดเก็บและสืบค้นได้ดี


พ.ศ. 2553 ถือว่าเป็นโอกาสที่เหมาะสมที่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ควรจะมีหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ซะที่ โดยใช้ชื่อว่า


"หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี"